โดย อับดุลกอเด็ร มัสแหละ
ท่านครูฟา, ท่านครูอับบาส(แชบะฮฺ), ท่านครูฮามิด(บูยา),ท่านครูฉ่ำ, ท่านครูโต๊ะกีดำ,
ท่านครูเจ๊ะนะฮฺ, ท่านจุฬาราชมตรี(แช่ม) และท่านครูสุอิ๊บ
ท่านจุฬาราชมนตรีแช่ม พรมยงค์
พ.ศ. 2444 ทารกที่มีนามว่า ซำซุดดีน มุสตอฟา ได้ถือกำเนดขึ้นมา ณ ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีมารดาชื่อนางวัน และบิดาชื่อ มุสตอฟา อิบรอฮีม ปี พ.ศ. 2449 ได้ ติดตามบิดาซึ่งเป็นครูสอนศาสนาไปเรียนหนังสือที่นครมักกะห์อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาใช้ชีวิตที่เมืองไทยจนปี 2462 จึงได้ออกเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศตุรกี ซึ่งเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงของอาตาร์เติร์ก จากนั้นในปี พ.ศ. 2469 ได้เดินทางศึกษาต่อที่นครไคโรประเทศอียิปต์ และการไปศึกษาครั้งนี้ท่านได้พบกับ เชคฏอนฏอวี ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนตัฟซีรผู้มีชื่อเสียง และยอมรับในกลุ่มโลกอาหรับ ในการเรียนท่านได้รับความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม พ.ศ. 2472–2474 เป็นช่วงที่กลุ่มสมาคมนักเรียนไทยในปารีส ได้มีมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อจะวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตย โดยการนำของนายปรีดีพนมยงค์ และนายบรรจง ศรีจรูญ ได้มาชักชวน ซำซุดดีน เข้าร่วมกับคณะราษฎร จึงได้ตอบรับซำซุดดีนได้ไปร่วมกับคณะราษฎรที่ฝรั่งเศษ โดยมีชื่อเรียกขานกันว่า. “ซำ” ซึ่งต่อมาได้ใส่ชื่อลงใหม่ ว่า แช่ม หรือ มุสตอฟา และ ได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น แช่ม พรหมยงค์ ท่านกลับสู่ปารีสถึงปากลัด พ.ศ. 2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยขณะนั้นยังเป็นการปกครองและแนวคิด รัฐนิยมขึ้นมา โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นผู้นำประเทศ
ท่านครูฟา, ท่านครูอับบาส(แชบะฮฺ), ท่านครูฮามิด(บูยา),ท่านครูฉ่ำ, ท่านครูโต๊ะกีดำ,