ชุมชนบ้านครุ

ประวัติชุมชนบ้านครุ
เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐ มีชาวมุสลิมสองตระกูลได้พาครอบครัวและเครือญาติ อพยบมาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณสองฝั่งของคลองครุ อันเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลทุ่งครุ อำเภอ ราษฏร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี(ในขณะนั้น) และตำบลบางครุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ สังคมในอดีตมักจะเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า บ้านครุหรือทุ่งครุ ซึ่งเป็นถิ่นฐานของที่บรรพบุรุษได้ตั้งหลักปักฐานทำมาหากินจนถึงปัจจุบัน มักจะได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่กล่าวถึง บุคคลผู้หนึ่งซึ่งรู้จักกันในนามว่า “โต๊ะกีเผือก” ท่านผู้นี้เกี่ยวพันกับบ้านครุอย่างไร เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว “คนครุ” นับตั้งแต่ครั้งนั้นจนถึงปัจจุบัน มุสลิมสองตระกูลดังได้แก่ “ทองทา” โดยมีอัลมัรฮูม “โต๊ะกีทา” เป็นต้นตระกูล และตระกูล “บุญมา” โดยมีอัลมัรฮูม “โต๊ะกีเด็ง” เป็นต้นตระกูล ระยะเวลาที่มาตั้งถิ่นฐานยังมีคนจำนวนน้อยอยู่ จึงจัดสร้างสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจเรียกว่า “บาแล” ขึ้นเพื่อทำละหมาดร่วมกันและสอนวิชาการด้านศาสนา ส่วนการละหมาดวันศุกร์และการละหมาดสุนัตในวันอีดทั้งสอง บรรพบุรุษคนครุจะเดินทางไปละหมาดที่ มัสยิดดารอสอาดะห์ บ้านปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ นับเป็นเวลาหลายปี
จนกระทั้งปี พ.ศ.๒๔๕๕ ซึ่งมีบุตรหลานจากสองตระกูลเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งผู้มาตั้งถิ่นฐานในบ้านปากครุก็เพิ่มขึ้นมาก จึงได้มีการก่อสร้าง “มัสยิดดารุ้ลนาอีม” ขึ้นบนที่ดินประมาณ ๑ ไร่เศษ ของอัลมัรฮูมะห์ฮัจยะห์ทิม สากลวารี บุตรีอัลมัรฮูมโต๊ะกีทา
ลูกหลานของโต๊ะกีเด็งและโต๊ะกีทาได้แต่งงานกันหลายคู่ เช่น เวาะสมัน บุญมา แต่งกับโต๊ะฮับเซาะห์ ทองทา ประมาณว่าทั้งสองตระกูลนั้นมีผู้สืบเชื้อสายไม่น้อยกว่าแปดร้อยกว่าคน เป็นการสืบสายสัมพันธ์เครือญาติ และสร้างชุมชนบ้านครุมาจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติมัสยิดดารุนาอีม ทุ่งครุ

masjiddarunnaeem
เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ มีบุตรหลานมาขึ้น อีกทั้งผู้มาตั้งถิ่นฐานในบ้านครุมากขึ้น จึงได้มีการก่อสร้าง อาคารมัสยิด ดารุนนาอีม ขึ้นบนที่ดินของอัลมัรฮูมะห์ฮัจยะห์โต๊ะทิม สากลวารี โดยตัวอาคารในครั้งนั้นเป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว ทรงปั้นหยา หลังคากระเบื้อง และมีระเบียงรอบตัวอาคารพร้อมกับมีหออาซาน อยู่ด้านหน้าของอาคารมัสยิด โดยอีหม่ามคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งคือ อัลมัรฮูมตวน ฮัจยีมูฮำหมัด อาหวัง ทองทา(โต๊ะกีหวัง)
อาคารหลังแรกนี้ได้รับการบูรณะหลายครั้ง จนมีการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ อันเนื่องาจากน้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๙๒ มัสยิดดารุนนาอีม ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตมัสยิดอิสลาม พ.ศ.๒๔๙๐ ทะเบียนเลขที่ ธ๕ ตามหมายเลขทะเบียนมัสยิด ช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๓ อาคามัสยิดต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากอาคารเป็นอาคารคอนกรีต ไม่เสริมเหล็กทั้งพื้นฐานและโครงสร้างในสมัยนั้น จึงทำให้มัสยิดทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถบูรณะซ่อมแซมให้กับมาอยู่ในสภาพที่ดีได้ คณะกรรมการมัสยิดและสัปปุรุษ จึงได้มีมติให้สร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่บนที่ดินของตระกูลวงศ์พานิช (ที่ดินด้านข้างอาคารมัสยิดหลังเก่า) โดยอัลมัรฮูมะห์นางสาวเฮาวา วงศ์พานิช และฮัลมัรฮูมโป๊ะ วงศ์พานิช ได้วากั๊ฟที่ดินบริเวณมัสยิดเพิ่มไปอีกสองไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมดสามไร่เศษ อาคารมัสยิดดารุนนาอีมหลังใหม่จึงก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ๒๕๒๙ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โดยฮัจยีวัลลภ สากลวารี ผู้ทำหน้าที่ก่อสร้างคืออัลมัรฮูมอัจยีวาฮับ ซอและน้อย นอกจากบริเวณที่ตั้งของมัสยิดแล้ว บรรดาสัปปุรุษอีกคนได้วากั๊ฟที่ดินให้เป็นของมัสยิดอีกเป็นจำนวนหนึ่ง เพื่อเก็บเป็นผลประโยชน์จากที่ดินเหล่านี้ บำรุงกิจการต่างๆ ของมัสยิด บำรุงการศึกษา ตลอดจนสาธารณูปโภคอื่นๆ ของคนในชุมชนบ้านครุต่อไป

มัสยิดอิมามอลี(อ.) 

masjidimamali1

 

เพิ่มเติมข้อมูลและความเห็น