ชุมชนบ้านสูง

ชุมชนบ้านสูงและมัสยิดอัลอิสติกอมะห์
มัสยิดอัลอิสติกอมะห์
มัสยิดอัลอิสติกอมะห์
มัสยิดหลังนี้ไม่ได้เกิดจากการย้ายถิ่นฐาน ราวในรัชสมัยล้นเกล้ารัชการที่ ๕ บ้านปากลัดได้มีประชากรหนาแน่นมากขึ้น ได้มีการขยายชุมชนออกมาด้าน บางมดและที่อื่นๆ ต่วนฮัจยีสุโกรหรือพ่อโต (ซึ่งเป็นบิดาของอาจารย์เซ็ง ต่อมาท่านได้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่ ๑ ทุ่งครุ) จากบ้านปากลัดเมืองพระประแดง ฮัจยะห์ซาบีเยาะห์ (โต๊งวาบ้านสูงหรือโต๊ะงวาเล็ก) ชาวสุเหร่ากุฎีขาวคลองบางหลวง ผู้ภรรยาได้นำเงิน มาฮัรหรือสินสมรสมาซื้อที่ดินย่านคลองรางจาก ๔๐ ไร่ เพื่อทำการเกษตร ด้วยกับความมานะได้เก็บออมเงินมากพอ จึงนำเงินมาชื้อที่ดินเพิ่มแนวคลองตาโซ๊ะ (บ้างเรียกคลองสะพานควาย คือบริเวณซอยประชาอุทิศ ๖๙ และ ๕๖) ประมาณแนวคลองรางจากเป็นที่ดินราว ๔๐๐ ไร่ ได้ปลูกบ้านหมู่เรือนไทยใต้ถุนสูงเป็นแห่งแรกของพื้นที่นี้ โดยเมื่อมองจากหอสูง (ยอดดารอ หออาซาน) ของมัสยิดดารอสอาดะห์ บ้านปากลัด ก็จะเห็นกลุ่มบ้านนี้แต่เพียงอย่างเดียว จึงมีการเรียกชุมชนบ้านนี้ว่า บ้านสูงเดิมทีพี่น้องที่อาศัยอยู่ชุมชนบ้านสูง (ย่านสุเหร่าอาจารย์เซ็ง หรือหมูที่ ๑ ) หมู่ ๔ ตำบลบางครุ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลบางมด อำเภอ ราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี การไปประกอบศาสนกิจ ละหาดวันศุกร์และวันตรุษประจำปีทั้งสองครั้งที่ ในบ้านปากลัด ณ มัสยิดดารอสอาดะห์ พระประแดง จังสมุทรปราการ ด้วยการเดินเท้าลัดตามคันนา คันสวนบ้าง และการพายเรือขี่ม้าบ้าง นับเป็นหนทางค่อนข้างไกลใช้เวลานาน
อ.เซ็ง
อ.เซ็ง
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่วนฮัจยีกอเซ็ม บินยูซุป(อาจารย์เซ็ง) ได้เดินทางกลับมาหลังจากได้ไปศึกษาที่มหานครมักกะห์เป็นเวลประมาณ ๓๐ ปี ท่านได้ตระหนักถึงความลำบากของพี่น้องมุสลิมในย่านชุมชนบ้านสูง และในตำบลทุ่งครุ ตำบลบางมดดังกล่าว จึงปรึกษาพี่น้องในบ้านสูง เช่นฮัจยีวา อับดุลเลาะห์ (แชเวาะห์บ้านสูง) ฮัจยีมุสตอฟา วานิ(ฮัจยีตาฟาบ้านสูง) ฮัจยะห์ งวาดอเยาะห์ ฮัจยะห์โต๊ะฉา ฮัจยะห์ฮับเซาะห์ (โต๊ะงวาบ้านสูง) และวงญาติมิตรสหาย เช่น ฮัจยีอิสหาก บุญมา (แชฮะ) ฮัจยีมะหมุด มูฮำหมัด ฮัจยีเลาะห์ มูนี ฮัจยีเตาเฟก อับดุลเลาะสุวรรณ ฯลฯ        การนี้ฮัจยะห์ฮับเซาะห์(งวาเซาะห์) ได้วากัฟ(บริจาค) ที่ดินให้ทั้งสิน ๔ ไร่ ๓ งาน ๘๔ ตารางวา โดยให้แบ่งที่จำนวน ๒ ไร่ เพื่อการจัดสร้างตัวอาคารมัสยิด ที่เหลือเป็นที่วากัฟ เพื่อประโยชน์ของมัสยิด และฮัจยีวาจิ(แชเวาะห์) ได้บริจาคเงินเริ่มต้นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้เป็นทุนเริ่มงานก่อสร้างมัสยิดร่วมกับผู้สนับสนุน และพี่น้องท่านอื่น ๆ ในความจริงท่านฮัจยีกอเซ็ม มีความประสงค์ให้ท่านอดีตจุฬาราชมนตรีแช่ม พรหมยงค์ เป็นทั้งญาติและมิตรสนิทมารับหน้าที่เป็น
วาเซาะห์
วาเซาะห์
อิหม่ามท่านแรก แต่อดีตจุฬาราชมนตรีแช่มฯ กลับเห็นสมควรให้อาจารย์กอเซ็ม เป็นอิหม่ามท่านแรกเอง โดยอดีตท่านจุฬาฯ แช่ม พรหมยงค์ ได้ให้เกียรติมาเป็นเป็นประธานวางศิลารากฐานของมัสยิด ในวันอาทิตย์ที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๒ และด้วยพระเมตตาธิคุณจากอัลลอฮ์ (ซ.บ) และเจตตนาอันบริสุทธ์ของคณะผู้คิดทำ การก่อสร้างอาคารมัสยิดได้สมบูรณ์จนสามารถประกอบศาสนกิจอามาลอิบาดะห์ได้สมบูรณ์ในราวปี พ.ศ. ๒๕๑๔ จึงได้ขอจดทะเบียนจากคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพฯ โดยอิหม่ามฮัจยีกอเซ็ม บินยูซุป (อาจารย์เซ็ง) ได้ใช้ชื่อว่า มัสยิดอัลอิสติกอมะห์อันหมายถึง การยืนหยัดกระทำ อามาลศาสนกิจ อย่างต่อเนื่องเสมอต้นเสมอปลาย โดยได้ทะเบียนมัสยิดเลขที่ ธ.๑๙ โดยร่วมค่าใช้จ่ายในการกอสร้างประมาณ ๓ ล้านบาท มัสยิดอัลอิสติกอมะห์ เป็นที่รู้จักในนามของ สุเหร่าอาจารย์เซ็ง (โดยชื่อนี้ในส่วนตัวท่าน อัลมัรฮูมกอเซ็ม บินยูซุบ หรือ อาจารย์เซ็งไม่ประสงค์ให้เรียกแต่อย่างใด)
เพิ่มเติมข้อมูลและความเห็น