ชาติพันธุ์มลายู ι ปัตตานีดารุสลาม ι จากปัตตานีสู่ปากลัด ι ตามรอยถิ่นบรรพชน
จากปัตตานีสู่ปากลัด 1 Ι 2 Ι 3 Ι 4 Ι 5 Ι 6
ผมขอวกเข้าเรื่องศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิมมลายูบ้านปากลัดก่อนที่ไปถึงประวัติศาสตร์บ้านปากลัด เพราะว่าวันที่ 13 ธันวาคม 2557 นี้จะเป็นงานของศูนย์ฯ จะเล่าสาเหตุที่ก่อหำเนิดศูนย์ฯก่อน
หลังจากที่เราได้บันทึกแชบะห์มา เราต่างก็ทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ผมเองต้องเรียกว่าทุ่มเวลาให้กับการทำงานเรื่องเครือญาติ เพราะใจรักโดยสายเลือด อย่างที่เล่ามาตอนที่แล้ว เราสนุกสนานกับการได้พบญาติ รู้จักญาติ เราได้ข้อมูลเครือญาติที่ต่อยอดจากแชบะห์มากมาย เราใช้ชื่อคณะทำงานนี้ว่า “คณะทำงานข้อมูลรูทส์”
เมื่อถึงเวลาเหมาะสมเราจึงคิดที่จะจัดงานเครือญาติสัมพันธ์ขึ้นที่อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งนั้นเราได้เชิญฮัจยีอารี วงค์บุญเกิด เป็นประธานจัดงาน เชิญท่านจุฬาราชมนตรีประเสร็ฐ มะหะมัด เป็นประธานพิธี งานครั้งนั้นต้องบอกว่าประทับใจมากเพราะเครือญาติแต่ละที่ร่วมกันออกร้านแบบร่วมด้วยช่วยกัน พี่น้องบางโพธิ์ คลองหนึ่งน่าจะจำได้ เพราะท่านมางานกันมาก แต่การจัดงานที่ไม่ได้มีชุมชนรองรับทุกอย่างเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น สรุปว่างานครั้งนั้นกำไรไม่มาก แต่ที่ได้คือเครือญาติได้มาพบกัน น่าจะเป็นครั้งเดียวที่ได้จัดงานแบบนี้ ในปี 2540 พวกเราก็อ่อนแรงไปตามๆกัน แต่ข้อมูลเรายังคงเก็บไว้ที่ อ.สะอาด และผู้จดบันทึกอีกสามท่านคือฮัจยีบดินทร์ ระดิ่งหิน ฮ.สุรชัย วรรณจิยี และ ฮ.เสน่ห์ ซอแก้ว ส่วนของ กีเซ็ม อิม่ามอัสอารี อิสลามบุตรชายก็เก็บรวบรวมไว้ ผมจำไม่ได้ว่ากี่ปีที่พวกเราอ่อนแรงลงไป …ฮัจยีบดินทร์ ระดิ่งหิน ฮ.สุรชัย วรรณจิยี ก็กลับไปสู่อัลลอฮ์
แต่มาช่วงปี 2546 ได้มีการเปิดป้ายมัสยิดดารอสอาดะห์ หลังที่ 3 ได้มีการจัดทำนิทรรศการประวัติมัสยิดดารอสอาดะห์ คุณอนันต์ (แอดมิน ของกลุ่มดาราศาสตร์) รับผิดชอบนิทรรศการ จึงได้ค้นหาข้อมูลขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยคุณอนันต์ ทรงศิริ และคุณมุสตอฟา แสงมาน ได้ไปหาครูสะอาด แสงวิมาน ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ และได้นำมาดำเนินการอีกครั้งหนึ่งในการทำงานช่วงนี้ก็มีปัญหาในเรื่องของประวัติชุมชนบ้านปากลัดอยู่เหมือนกัน เพราะบันทึกของสายตระกูลไม่ได้บอกปี พ.ศ. ไว้เลย ปัญหาคือ ชุมชนบ้านปากลัดมาอยู่ตั้งแต่เมื่อไร ปี พ.ศ. ไหน รัชกาลที่เท่าไร หลังจากนั้นคุณอนันต์ และทีมงานก็เริ่มสืบหาข้อมูลต่าง ๆ จากหลายแหล่งข้อมูล จากในหนังสือทางประวัติศาสตร์ไทย และสอบตามนักประวัติศาสตร์หลายท่าน ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนเท่าไรในเรื่องประวัติบ้านปากลัด จึงได้กับไปดูที่รูปภาพที่ได้มา และสายตระกูล ในจำนวนรูปภาพที่ทางเราลงพื้นที่ในชุมชนบ้านปากลัด และชุมชนใกล้เคียง เช่น ทุ่งครุ โรงกระโจม บ้านแสงวิมาน (นครศรีธรรมราช) และอีหลายที่ เราเก็บรวบรวมภาพเก่าได้ ประมาณ 1.000 กว่าภาพ ซึ่งมีอยู่ภาพหนึ่งเป็นภาพของโต๊ะวังตา ซึ่งเป็นคนรุ่นที่ 3
ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เราได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง ใช้ชื่อเดิมว่า ศูนย์ข้อมูลรูสท์ (เครือญาติสัมพันธ์) เราทำงานและเก็บข้อมูลมา ถึงปี 2553 คณะทำงานเราหลายคนได้มีโอกาสเข้าไปบริหารมัสยิดดารอสอาดะห์ จึงได้มีมติของคณะกรรมการมัสยิดฯ ให้จัดทำโครงการวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-มลายู จากลุ่มน้ำปัตตานี สู่ ลุ่มน้ำปากลัด 224 ปี ณ บ้านปากลัด เมืองพระประแดง โดยมี พล.อ. สุรยุทธ จุลานนท์ องคมนตรี มาเป็นประธานเปิดโครงการวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-มลายู จากลุ่มน้ำปัตตานี สู่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 224 ปี ณ บ้านปาดลัด เมืองพระประแดง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 และในที่ 7 กุมภาพันธ์ นายอำนวย รัศมิทัศ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ได้มาเปิดงานศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม–มลายูบ้านปากลัด(ตอนนั้นยังมีศูนย์วัฒนธรรมฯเพาะยังไม่ได้งบประมาณ)
หลังจากนั้นเราได้ทำโครงการเพื่อของบประมาณไปยัง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อจัดทำศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม – มลายูบ้านปากลัด ประมาณ 1 ปี เราได้งบประมาณมา 1,060,000 บาท และดำเนินการจัดทำศูนย์วัฒนธรรมฯ แล้วเสร็จ ในเดือนมีนาคม 2554 เราได้เปิดให้เข้าชมและได้มีองค์ต่าง ๆ เยี่ยมชมศูนย์มาแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ และบุคคลทั่วไป
ส่วนผมนั้นถือว่าคณะกรรมการมัสยิดดารอสอาดะห์ ชุดที่แล้ว เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์มาก ที่จับงานนี้มาทำ เพราะงานชิ้นนี้เป็นงานประวัติศาสตร์ เป็นงานเชิงนามธรรม กว่าจะเป็นรูปธรรมได้ พวกเขาก็โดนต่อว่าต่อขานจากผู้ตนมากมาย บางก็ว่าศูนย์ฯไม่ได้ทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนา ทั้งๆ ที่ทำเรื่องเครือญาติ “ซีลาตุรเราะฮีม” ผมเองไม่ได้เป็นกรรมการมัสยิดด้วย แต่ก็ร่วมช่วยเหลือกันมาโดยตลอด ส่วนลึกแล้วดีใจมากที่มีคนรุ่นใหม่มาต่อยอดงานชิ้นนี้ ซึ่งถือว่าเป็นประวัติเครือญาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
มาถึงวันนี้ ศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม-มลายูบ้านปากลัด พร้อมที่จะต้อนรับทุกท่านที่มาเยี่ยมชม หรือว่าถือโอกาส งานวันที่ 13 ธันวาคมนี้ ท่านจะเข้าเยี่ยมชมก็ได้ ผมเองทางคณะก็ขอร้องให้มาช่วยๆ กัน ผมเองก็ยินดี ถือว่าได้มีโอกาสสานงานนี้ต่อไป
ปัจจุบันศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม-มลายูบ้านปากลัด ตั้งอยู่ที่ 26/43 หมู่ 18 ต.บางพึ่ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130 โทร. 089-106914
คณะกรรมการศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม-มลายูบ้านปากลัด
ประธาน นายสุมิตร อาจหาญ รองประธาน นายนวาวี ตระกูลมาลี เลขานุการ นายสรรเสริญ สาโรวาท
เหรัญญิก นายอนันต์ ทรงศิริ กรรมการ นายอรุณ กะดามัน นายอำนวย ปรีชาศิลป์ นายสามารถ เลาะเด นายมานะ นาอุดม
นายสมเดช มัสแหละ นายสาโรจน์ โก๊ะแอ นายประเสริฐ ขำทองทับ นายสมหวังเผ่าโนรี นายอาดำ โอฐสร้อยสำอาง
ชาติพันธุ์มลายู ι ปัตตานีดารุสลาม ι จากปัตตานีสู่ปากลัด ι ตามรอยถิ่นบรรพชน
จากปัตตานีสู่ปากลัด 1 Ι 2 Ι 3 Ι 4 Ι 5 Ι 6