ศูนย์วัฒนธรรมฯ

ความเป็นมา

ก่อนอื่นต้องกล่าวถึงคณะทำงานศุนย์ข้อมูลเครือญาติสัมพันธ์ ซึ่งมีฮัจยีเลาะห์ เล้าเป็ด ครูสุอิ๊บ แสงวิมาน ฮัจยีฮำเดาะห์ วรรณจิยี ฮัจยีบดิน ระดิ่งหิน และบุคคลอื่น ๆ อีกหลายท่าน ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลของอีหม่ามอับบาส แสงวิมาน (แชบะห์) ได้บันทึกข้อมูลสายตระกูล เช่น สายอีหม่ามดอมูฮิ คอเตบดอมาลี บิหลั่นยะห์ยา และตระกูลแสงมาน เป็นภาษามลายู ส่วนกีกอเซ็มอิสลาม ได้บันทึกสายตระกูล โต๊ะวังมัรญัม โต๊ะวังญามีละห์ อีกสายหนึ่ง สายต่วนมูฮำหมัดซอและห์ ผู้บันทึกคือ แชมุด มัสแหละ

มาจนถึงประมาณปี พ.ศ. 2525  ได้มีบุคคลรุ่นต่อมา เช่น ครูสอาด แสงวิมาน คุณสมเดช มัสยแหละ ฮัจยีวัฒนา เล็กบุญหล่อ ได้รวบรวมข้อมูลใหม่ โดยเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อง่ายต่อการเรียบเรียงข้อมูลสายตระกูล ซึ่งมีรายชื่อบุคคลอยู่จำนวนมาก แต่ด้วยกับภาวะทางเศรษฐกิจที่ทุกคนต้องมีภาระ จึงได้หยุดการทำงานลงเมื่อปี 2540          มาช่วงปี 2546 ได้มีการเปิดป้ายมัสยิดดารอสอาดะห์ หลังที่ 3 ได้มีการจัดทำนิทรรศการประวัติมัสยิดดารอสอาดะห์ จึงได้ค้นหาข้อมูลขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยคุณอนันต์ ทรงศิริ และคุณมุสตอฟา แสงมาน ได้ไปหาครูสะอาด แสงวิมาน ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ และได้นำมาดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง ในการทำงานช่วงนี้ก็มีปัญหาในเรื่องของประวัติชุมชนบ้านปากลัดอยู่เหมือนกัน เพราะบันทึกของสายตระกูลไม่ได้บอกปี พ.ศ. ไว้เลย ปัญหาคือ ชุมชนบ้านปากลัดมาอยู่ตั้งแต่เมื่อไร ปี พ.ศ. ไหน รัชกาลที่เท่าไร หลังจากนั้นคุณอนันต์ และทีมงานก็เริ่มสืบหาข้อมูลต่าง ๆ จากหลายแหล่งข้อมูล จากในหนังสือทางประวัติศาสตร์ไทย และสอบตามนักประวัติศาสตร์หลายท่าน ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนเท่าไรในเรื่องประวัติบ้านปากลัด จึงได้กลับไปดูที่รูปภาพที่ได้มา และสายตระกูล ในจำนวนรูปภาพที่ทางเราลงพื้นที่ในชุมชนบ้านปากลัด และชุมชนใกล้เคียง เช่น ทุ่งครุ โรงกระโจม บ้านแสงวิมาน (นครศรีธรรมราช) และอีหลายที่ เราเก็บรวบรวมภาพเก่าได้ ประมาณ 1.000 กว่าภาพ ซึ่งมีอยู่ภาพหนึ่งเป็นภาพของโต๊ะวังตา ซึ่งเป็นคนรุ่นที่ 3 ของสานตระกูลคอเตบดามาลี เป็นภาพบอกถึงการแต่งกายในรัชกาลที่ 4 จึงสันนิษฐานว่าบรรพชนรุ่นแรกที่บ้านปากลัดน่าจะมาในสมัยรัชการที่ 1 ที่ปัตตานีแพ้สงครามสยาม และเป็นเชลยศึกที่เทครัวมาอยู่ที่ปากลัด

ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เราได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง ใช้ชื่อเดิมว่า ศูนย์ข้อมูลรูสท์ (เครือญาติสัมพันธ์) เราทำงานและเก็บข้อมูลมา ถึงปี 2553 คณะทำงานเราหลายคนได้มีโอกาสเข้าไปบริหารมัสยิดดารอสอาดะห์ จึงได้มีมติของคณะกรรมการมัสยิดฯ ให้จัดทำโครงการวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-มลายู จากลุ่มน้ำปัตตานี สู่ ลุ่มน้ำปากลัด 224 ปี ณ บ้านปากลัด เมืองพระประแดง โดยมี ฯพณฯ     สุรยุทธ จุลานนท์ องคมนตรี มาเป็นประธานเปิดโครงการฯ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 และในที่ 7 กุมภาพันธ์ นายอำนวย รัศมิทัศ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ได้มาเปิดป้ายศุนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม – มลายูบ้านปากลัด หลังจากนั้นเราได้ทำโครงการเพื่อของบประมาณไปยัง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อจัดทำศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม – มลายูบ้านปากลัด ประมาณ 1 ปี เราได้งบประมาณมา 1,060,000 บาท และดำเนินการจัดทำศูนย์วัฒนธรรมฯ แล้วเสร็จ ในเดือนมีนาคม 2554 เราได้เปิดให้เข้าชมมาแล้วประมาณ 2 ปี และได้มีองค์ต่าง ๆ เยี่ยมชมศูนย์มาแล้วประมาณ 20 สถาบัน และบุคคลทั่วไปอีกจำนวนมาก

ปัจจุบันศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม-มลายู บ้านปากลัด ตั้งอยู่ที่ 26/43 หมู่ 18 ต.บางพึ่ง    อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ   www.facebook.com/muslimbaanpaklad   

และ website   website  : www.melayupaklad.org

โทร. คุณอนันต์ ทรงศิริ  089 – 1069147  คุณสมเดช มัสแหละ  089 – 6907362

คณะกรรมการศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมลายูมุสลิมบ้านปากลัดประกอบด้วย

   sumitr  
  นายสุมิตร อาจหาญ
ประธาน
 
   
  นายนาวาวี ตระกูลมาลี
รองประธาน
 
 sansern  anan  somdej
นายสรรเสริญ สาโรวาท
เลขานุการ
นายอนันต์ ทรงศิริ
เหรัญญิก
นายสมเดช มัสแหละ
กรรมการ
 amnuay  sulaiman
 นายอรุณ กะดามัน
กรรมการ
 นายอำนวย ปรีชาศิลป์
กรรมการ
 นายสามารถ เลาะเด
กรรมการ
     
นายมานะ นาอุดม
กรรมการ
นายสาโรจน์ โก๊ะแอ
กรรมการ
นายประเสริฐ ขำทองทับ
กรรมการ
     
นายสมหวัง เผ่าโนรี
กรรมการ
  นายอาดำ โอษฐ์สร้อยสำอาง
กรรมการ
เพิ่มเติมข้อมูลและความเห็น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *