ขาติพันธุ์มลายู

ชาติพันธุ์มลายู  ι  ปัตตานีดารุสลาม ι  จากปัตตานีสู่ปากลัด ι ตามรอยถิ่นบรรพชน


มลายูและโลกมลายู

By : Nik Rakib Nik Hassan

       Head Malay Studies Section, Faculty of Humanities and Social Sciences, PSU Pattani

       expert in Malay Diaspora, Malay Ethicity

 ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 คำว่า “มลายู”เริ่มจะมีพื้นที่มากขึ้น ไม่ว่า ในสื่อสารมวลชน หรือ เอกสารการวิจัย เอกสารราชการ ไม่ว่าในบางกรณีจะมีการใช้คำว่า “ชาวมลายู” แทนคำว่า ชาวไทยมุสลิม”

สิ่งนี้ถือเป็นนิมิตที่ดี เป็นการคืนคำว่า“มลายู”กลับสู่กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่เรียกตนเองว่า“ชาวมลายู”ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส สงขลา สตูล และอื่นๆ 

สำหรับคนที่ไม่ใช่ชาวมลายู บางส่วนยังคงมีความสงสัย และสับสนถึงคำว่า“ชาวมลายู” รวมถึงความเป็นมาของ“ชาวมลายู” และมีการอธิบายที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง

คำว่า “มลายู”ในความหมายที่ทางองค์การ UNESCO  ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อ Malay  Cultural  Studies  Project ได้ให้คำอธิบายถึงความหมายของมลายูว่า คือ กลุ่มชนที่รวมกันอยู่ในกลุ่มมลายู-โปลีเนเซีย (Melayu-Polinesia) ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวาง จากเกาะมาดากัสการ์ทางตะวันตก จนถึงเกาะอิสเตอร์ หรือ ที่ชาวมลายูเรียกว่าเกาะปัสกะห์ (Pulau Paskah) ทางตะวันออก รวมทั้งเกาะไต้หวัน และ ฮาวาย ทางด้านเหนือ จนถึงหมู่เกาะอินโดเนเซีย และ นิวซีแลนด์ทางใต้

ศาสตราจารย์วัง กุง วู (Prof. Wang Gung Wu) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าในบันทึกจีนโบราณ ปรากฏว่าในศตวรรษที่ 13 ยังไม่มีการบันทึกถึงคำว่า “มลายู” ในฐานะชนชาติหนึ่ง มีเพียงการบันทึกคำว่า “มลายู” ในฐานะเป็นรัฐหรือสถานที่แห่งหนึ่งในทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย จะมีเพียงในศตวรรษที่ 18 ที่กล่าวถึง “มลายู” ในฐานะชนชาติหนึ่ง

ส่วนบันทึกของตะวันตกนั้นกล่าวว่า ตอนต้นศตวรรษที่ 17 คำว่า “มลายู” มีการใช้ในความหมายที่กว้าง ครอบคลุมถึงชนชาติที่อยู่ในภูมิภาคมลายู หรือ ที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า นูซันตารา (Nusantara) ชนชาวมลายูได้ทิ้งร่องรอยทางอารยธรรมไว้มาก มีอาณาจักรโบราณของชาวมลายู ที่มีชื่อเสียง เช่น อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรมาชาปาหิต อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรมะละกา รวมทั้งอาณาจักรจามปาในเวียดนาม

ยังมีอีกอาณาจักรหนึ่ง ที่นักวิชาการมักกล่าวถึง แต่ไม่เคยนำมาเกี่ยวโยงกับชนชาวมลายู นั้นคือ อาณาจักรฟูนัน สำหรับอาณาจักรฟูนัน นั้น นาย Daniel George E. Hall นักประวัติศาสตร์ นามอุโฆษผู้นี้ได้กล่าวถึงอาณาจักรฟูนัน ว่า “ชาวฟูนันเป็นชนชาติมลายู ”(The Funanese were Malay Race) ดังปรากฎในหนังสือที่ท่านเขียน และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นบรรณาธิการ จัดพิมพ์โดยโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

องค์กรที่ที่ชื่อว่า Joshua Project ซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสหรัฐตั้งอยู่ในรัฐ โคโลราโด ของสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจและปรากฎผลได้ดังนี้ :

โลกอาหรับ  279 ล้านคน, อินโด-อิหร่านเนียน 137 ล้านคน,  ยิว  17 ล้านคน, ชนชาวมลายู   340 ล้านคน และชาวตุรกี  169 ล้านคน

จากข้อมูลข้างต้นที่มีชนชาติมลายูถึง 340ล้านคน ปรากฏว่าชนชาวมลายู ส่วนบันทึกของตะวันตกนั้นกล่าวว่า ตอนต้นศตวรรษที่ 17 คำว่า “มลายู” มีการใช้ในความหมายที่กว้าง ครอบคลุมถึงชนชาติที่อยู่ในภูมิภาคมลายู หรือ ที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า นูซันตารา (Nusantara) ชนชาวมลายูได้ทิ้งร่องรอยทางอารยธรรมไว้มาก มีอาณาจักรโบราณของชาวมลายู ที่มีชื่อเสียง เช่น อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรมาชาปาหิต อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรมะละกา รวมทั้งอาณาจักรจามปาในเวียดนาม

 ยังมีอีกอาณาจักรหนึ่ง ที่นักวิชาการมักกล่าวถึง แต่ไม่เคยนำมาเกี่ยวโยงกับชนชาวมลายู นั้นคือ อาณาจักรฟูนัน สำหรับอาณาจักรฟูนัน นั้น นาย Daniel George E. Hall นักประวัติศาสตร์ นามอุโฆษผู้นี้ได้กล่าวถึงอาณาจักรฟูนัน ว่า “ชาวฟูนันเป็นชนชาติมลายู ”(The Funanese were Malay Race) ดังปรากฎในหนังสือที่ท่านเขียน และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นบรรณาธิการ จัดพิมพ์โดยโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

องค์กรที่ที่ชื่อว่า Joshua Project ซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสหรัฐตั้งอยู่ในรัฐ โคโลราโด ของสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจและปรากฎผลได้ดังนี้ :

โลกอาหรับ  279 ล้านคน, อินโด-อิหร่านเนียน 137 ล้านคน,  ยิว  17 ล้เหล่านั้น กระจัดกระจายไปทั่วโลก  นอกจากพวกเขาจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในกลุ่มประเทศภูมิภาคมลายู หรือ ที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า นูซันตารา (Nusantara) ซึ่งมีประเทศอินโดเนเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของไทย แล้ว  ชาวมลายูยังอาศัยอยู่ในประเทศพม่า, เวียดนาม, เขมร  และลาว

นอกจากนั้นชาวมลายูยังอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆ เช่นไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอัฟริกาใต้, มาดากัสการ์, สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป  และสหรัฐ

http://www.thealami.com/


ชนเผ่ามลายู

อัฮหมัด สมบูรณ์  บัวหลวง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ปัตตานี

ชนเผ่าคนมลายูเป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยอยู่ในแหลมสุวรรณภูมิแห่งนี้และมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานนับพันๆปี   มีความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมความเป็นอยู่  ที่มีลักษณะเฉพาะ โดยผ่านการสั่งสม  การเปลี่ยนแปลงและกระบวนการพัฒนาที่เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
จากยุคที่อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก  หนักแน่นกับสิ่งแวดล้อมป่าไม้ ลำธาร  ภูเขา ลมฟ้าอากาศแลปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่สามารถมองเห็น สัมผัสและรู้สึกได้ ล้วนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจกำหนดวิถีชีวิตของตน  จนเวลาล่วงเลยมาถึงยุคของอิสลาม  อัลเลาะฮ.ได้ประทานอิสลามให้เกิดในที่ตั้งของชนบนคาบสมุทรอาหรับ นักเดินทางชาวเปอร์เซีย ชาวอาหรับซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงพ่อค้าวาณิชย์ ที่มีการติดต่อค้าขายกับภูมิภาคนี้มานานนม
ต่อมาเมื่อเขาทั้งหลายมารับอิสลาม วิถีชีวิตผันเปลี่ยนได้เป็นนักเผยแพร่ตามภาระกิจของอิสลามิกชนที่ดีและเผยแผ่ (ดะวะฮ.)   นำสัจธรรมอิสลามสู่ชนมลายูในภูมิภาคนี้  เชื่อกันว่าอิสลามเข้ามาในคาบสมุทรทองคำแห่งนี้ตั้งแต่ฮิจเราะฮต้นๆ. นับตั้งแต่นั้นมาอิสลามได้แทรกซึมในหมู่ชนชาวมลายูอย่างกว้างขวางหนักแน่นและมั่นคง  แนวทางความเชื่อในอิสลามได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสัจธรรมของมนุษย์ชาติทั้งมวล  และมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น เมื่อกษัตริย์ในราชสำนักปาตานีได้ยอมรับอิสลามเป็นศาสนาของราชอณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2043 เป็นต้นมา
   ราชอาณาจักรปาตานีเป็นรัฐอิสลามโดยมีชื่อเต็มว่า ปาตานี – ดารุสซาลาม  ( ปาตานีนครแห่งสันติ )มีเมืองเล็กเมืองน้อยที่อยู่ในราชอาณาเขต 43 เมือง ปกครองโดยใช้ระบอบอิสลามมีกษัตริย์เป็นประมุขที่มีพระบรมวงศ์ษานุวงค์  นักการศาสนา หมู่เหล่าทหารหาญและประชาราษฎร์เป็นฐานเสริมการปกครองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น คราวใดบ้านเมืองในราชอาณาจักรวุ่นวายสับสน  บรรดาชาวมาลายูทั้งปวงจะเข้าไปช่วยร่วมแรง ร่วมใจและสละแม้แต่ชีวิตเพื่อการปกป้องมาตุภูมิอย่างเต็มที่  มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ควรจะหยิบยกเป็นอุทาหรณ์ให้ชนรุ่นปัจจุบันได้รับรู้และเข้าใจเพื่อจะได้ตระหนักตระหนักในความเป็นมาว่าผู้เป็นบรรพชนของตนได้สร้างบ้านแปงเมืองอย่างยากลำบาก ต้องปกปักรักษาและป้องกันภัยอันตรายต่างๆนานานัปการโดยเฉพาะกับการรุกรานของประเทศผู้กระหายดินแดนและอำนาจ  มรดกที่คนรุ่นก่อนๆได้ฝากให้แก่ลูกหลานมีค่ามากมายมหาศาล คุณค่าและความมั่นคงในการรักษามรดกที่ดีงามคือการดำรงอยู่และยังคงใช้อยู่ในบรรดาคนรุ่นปัจจุบันและตลอดไป คือวิถีทางนำของอิสลาม
อัลเลาะฮ.ได้ประทานอิสลามขึ้นแก่มนุษยชาติและแผ่ขยายมายังภูมิภาคนี้ โดยไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าบรรดาพ่อค้าและ นักเดินทางชาวอาหรับได้นำสิ่งที่ดีงามนี้มาด้วยและต่อมาชนท้องถิ่นได้มีการติดต่อไปมาหาสู่ ตลอดจนความมุงมั่นของคนยุคก่อนที่จะเข้าถึงแก่นแท้ของอิสลาม เขาทั้งหลายต้องดั้นด้นเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ ความเข้าใจและดำเนินชีวิตเพื่อเติมเต็มตามหลักการของศาสนบัญญัติ จึงได้เดินทางถึงเมืองมักกะฮ.ในคาบสมุทรอาหรับอันไกลโพ้น  บางคนบางกลุ่มได้ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย แต่มีอีกมากที่โดนกระแสลมและคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ถล่มจนเรือจมไปทั้งลำ บ้างพลัดหลงไม่สามารถถึงที่หมายดั่งใจหวัง ต้องติดค้างตามเกาะแก่งต่างๆจนไม่สามารถกลับมาตุภูมิได้อีกเลย กระจัดกระจายตามเกาะและชายฝั่งทะเลตั้งแต่เกาะ( ซีลอน )ศรีลังกา  แต่บางคนบางกลุ่มไปไกลถึงอัฟริกา( เกาะมาดากัสกา )ถึงแม้จะต้องพลัดพรากจากบ้านเกิดที่แสนไกลเขาเหล่านั้นยังคงรักษามรดกที่ติดตัวไปอย่างมั่นคง ความเป็นมุสลิมและวิถีชีวิตชาวมลายูปาตานียังคงดำรงอยู่จนปัจจุบัน ไม่ผันแปรและเปลี่ยนไปถึงแม้กาลเวลาจะผ่านไปนับร้อยๆปี
ครั้นถึงช่วงเวลาของการล่าและปล้นสะดมแผ่นดินของชาติตะวันตก( โดยอ้างเพื่อการสำรวจโลกใหม่!!!แท้จริงคือการแสวงหาแหล่งที่จะยึดอำนาจเพื่อปล้นและ ตักตวง เอาแร่ธาตุทรัพยากรธรรมชาติ และผู้คนที่มีอยู่ดาดดื่นของประเทศคนอื่น)วัฒนธรรมแห่งการรุกรานและแย่งบ้านชิงเมืองเกิดขึ้นในทุกที่ ไม่เว้นรัฐมลายูมุสลิมอันสงบ  รัฐในแหลมมลายูในช่วงนั้น (พ.ศ 2000-2329 )กำลังเจริญรุดหน้าและเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการเผยแผ่วิทยาการอิสลามอันบริสุทธิ์ วัฒนธรรมอิสลามและวิถีชีวิตของชาวมลายูกระจายไปทั่วแหลมอินโดจีน ในช่วงเวลานั้นการติดต่อสัมพันธ์กับชาวอาหรับมีมากขึ้นเป็นลำดับ ได้มีบันทึกในกีตาบญาวี( Kitab Jawi ) ชื่อตัสฮิลู นาอิลิล อามานิ ( Tas-hilu  Nailil Amani ) โดยเชคอัฮหมัด อัลฟาฏอนี ซึ่งตีพิมพ์ในนครมักกะฮ.

ฮิจเราะฮ.ปีที่ 1331(ปัจจุบันฮิจเราะฮ.ปีที่ 1422)กล่าวสรุปเป็นภาษาไทยความว่า…ชาวฮิจาซ/ชาวอาหรับ( Hijas/Arab)ชอบและมีความสุขทีจะคบหาติดต่อกับคนมลายูเพราะภาษาของเขาเรียนรู้ได้ง่าย เป็นชาติพันธุ์ที่มีคุณสมบัติซื่อสัตย์( Ikhlas )สุภาพ อ่อนโยนเป็นคนดีและที่สำคัญจะไม่พบเห็นคุณลักษณะบุคลิคแบบนี้ในบ้านเมืองเขา( อาหรับ) จะไม่พบเห็นการขอทาน  ถึงแม้ความเป็นอยู่ของเขาจะยากจนก็ตาม เขายังคงรักษาความเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ มีความรู้ทางช่างหลากสาขา มีความเป็นมาทางชาติตระกูลที่สูงส่ง รูปลักษณ์น่าเลื่อมใส ผิวเหลืองค่อนข้างจะขาวมีราศรี การพูดจาด้วยอัธยาศัยที่งดงาม สายตาเป็นมิตร ไม่กระด้างไม่ก้าวร้าว… แต่เมื่อบ้านเมืองเพลี่ยงพลั้งในการป้องกันประเทศ ทำให้รัฐอิสลามปาตานี  ดารุสซาลามต้องพ่ายแพ้สงคราม การกวาดต้อนเชลยศึกสงครามให้กระจัดกระจายเพื่อให้ใกลบ้านห่างมาตุภูมิ  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ นักรบและประชาชนชาวปาตานีต้องถูกนำไปอยู่กระจัดกระจายที่บางกอกนับตั้งแต่            ปี พ.ศ. 23292345 โดยกระจัดกระจายตามแหล่งริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากแม่น้ำพระปะแดง (ปากลัด) ลึกเข้าไปในแผ่นดิน    พระโขนง หนองจอก นครนายก นนทบุรี อยุธยา ฯลฯ
และท้ายสุดมาหมดที่สี่แยกบ้านแขก (ธนบุรี )เมื่อ พ.ศ 2345 จำนวน 4000 กว่าคน ความเจ็บปวดในความพ่ายแพ้สงครามและความทุกข์ทรมานจากการเดินทางไกลของบรรดาเชลยศึกมุสลิมปาตานี  อัลเลาะฮ.ผู้ทรงรอบรู้และทรงอำนาจยิ่งได้ประทานสิ่งที่ดีงามควบคู่กับเหตุการณ์ที่เลวร้ายเสมอ คืออิสลามและวิถีชีวิตมลายูแผ่กว้างในเมืองบางกอกและปริมณฑล   กฎของความเป็นไปคือ  ตักเดรที่อัลเลาะฮ. ได้กำหนดไว้แล้ว  หากไม่มีสงคราม ไม่มีการกวาดต้อนเชลยใฉนเลยจะมีชุมชนมุสลิมในภาคกลางของไทยที่นั่นมากมายจนถึงปัจจุบัน…?และเช่นเดียวกันในขณะที่รัฐอิสลามปาตานีรุ่งเรืองการติดต่อค้าขาย การแลกเปลี่ยน   สินค้า การถ่ายทอดวิทยาการอิสลามจากศูนย์กลางในราชธานีกรือเซะ ปาตานี ดารุสซาลาม การคบหาสมาคมจนกลายเป็นการแต่งงานข้ามรัฐข้ามประเทศวิถีชีวิตมลายูจึงถ่ายเทกันและกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งในจาม เขมร พม่า สุมาตรา ลังกา อินเดีย อัฟริกา และอื่นๆ
ย้อนกลับดูสังคมมลายูในประเทศนี้ปัจจุบัน ยังคงอยู่ดี รักษามรดกที่งามเลิศข้างต้นได้อย่างแข็งขันเช่นไร บ้างก็บอกว่ายังคงอยู่ดี  บ้างก็ว่าน่าเสียดายที่หลายสิ่งหลายอย่างได้สึกกร่อนไปตามกาลเวลา อีกทั้งถูกแรงกระชากลากถูของพายุและมรสุมอันรุนแรงของวัฒนธรรมตะวันตก ไหนจะต้องต่อกรกับอิทธิพลและอำนาจทางการเมือง การปกครองในประเทศ ที่ทำให้มีผลถึงกระบวนการจัดการศึกษาของไทยที่เรียกร้องหากระแสชาตินิยมอย่างแข็งขันและรุนแรง ทำให้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนประเทศ โดยเฉพาะวัฒนธรรมดั้งเดิมและวิถีชีวิตที่ดีงามของชุมชนเล็กๆถูกกลืนหายไปในสังคม เฉกเช่นอารยธรรมคนรุ่นก่อนในหมู่ชาวมอญ รามัน ชาวลาว ชาวโซ่ง กะเหรี่ยง ชาวเขา ชาวดอย ชนกลุ่มน้อยต่างๆ โดยเฉพาะชนเผ่าที่นำอิสลามเข้ามาในภูมิภาคต่างๆในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าเชื้อสายอัฟกานีสถาน ปากีสถาน เติร์ก เปอร์เซีย  อาหรับ บังกาลี อินเดีย  จีนยูนนานและอีกหลายกลุ่มชนที่มาบุกเบิกและเดินทางไกลจากบ้านเกิดห่างเมืองแม่
เขาเหล่านั้นล้วนเป็นเหล่ามูฮาญิรีนที่ฮิจเราะฮ.เคลื่อนย้ายในรูปแบบต่างๆมานานนับร้อยปีอย่างต่อเนื่อง  เข้ามาในประเทศไทยในทุกภูมิภาค  รวมถึงชุมชนดั้งเดิมเช่นชาวมลายูทั้งภาคใต้และหมู่เหล่าชาวเชลยศึกสงครามในบางกอก ในหลายชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลงในช่วง 4-5 ทศวรรษที่ผ่านมา  และเป็นไปอย่างรวดเร็วในรอบ 20 กว่าปีที่ผ่านมา  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในระบบและโครงสร้างของชุมชนเหล่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเช่นชื่อเสียงเรียงนามของตนและตระกูลของบรรพชนได้ปรับได้แต่งและได้เปลี่ยนให้สละสลวยแลดูเป็นอื่น อีกทั้งยังทิ้งยังขว้างภาษาที่เป็นบ่อเกิดแห่งชาติพันธุ์ของตนเอง จนบางครั้งยากยิ่งที่จะควาญพบเอกลักษณ์ดั้งเดิมที่พึงมีพึงรักษาในปัจจุบันได้

จริงอยู่วัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลงเป็นของคู่กันวัฒนธรรมใดใหญ่และแข็งแรงกว่าย่อมจะรักษาและอยู่รอดได้ ในขณะเดียวกันอาจจะครอบคลุมและแทรกซึมในวิถีชิวิตของกลุ่มชนที่เล็กและอ่อนแอกว่า แต่สำหรับชุมชนมุสลิมอื่นๆและชาวมลายูมุสลิมต่างก็มีอัล-กุรอ่านเป็นธรรมนูญของชีวิตเป็นพื้นฐานสำคัญในการชี้นำเรา อย่างน้อยๆหน้าที่ของมุสลิมจะต้องรักษาวัฒนธรรมอิสลาม(ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่ต้องปฏิบัติและไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้)เช่นการอ่านอัล-กุรอานที่คงภาษาอาหรับอย่างถูกต้องเพื่อนำไปใช้ในการละหมาด ที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติเมื่อบรรลุนิติภาวะ กรณีตัวอย่างของบรรดาบรรพบุรุษชาวมลายูที่เป็นอุลามะอ .( นักการศาสนา )ได้นำภาษาอาหรับมาเขียนเพื่ออ่านเป็นภาษามลายู เรียกการเขียนเช่นนี้ว่าภาษามลายูอักขระญาวี ( Melayu  Jawi )และท่านเหล่านั้นได้แต่งตำหรับตำราขึ้นมาประกอบการเรียนและการอ่านทั้งอัล-กุรอ่านและอัล-หะดิษมาเป็นร้อยๆเล่ม เพื่อให้มุสลิมในอดีตจนมาถึงคนรุ่นปัจจุบันได้อ่าน ได้สนทนา ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน นี่คือจุดเด่นที่เป็นการรักษาเอกลักษณ์และภูมิปัญญาอันบริสุทธิ์ของผู้เฒ่าผู้แก่  ที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
ภาษาที่มีและใช้ในแต่ละกลุ่มชนมีกระบวนการเกิด การใช้  การพัฒนาและความคงอยู่ที่แตกต่างกัน  บางภาษาของบางกลุ่มชนล้มตายหายจากไปแล้ว บางภาษามีแต่ภาษาพูด บางภาษาคงมีแต่ภาษาเขียนในคัมภีร์ซึ่งไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ภาษาเป็นตัวกำหนดบุคลิกและพฤติกรรมของคน  เป็นมรดกที่ได้มาจากบรรพชน  ภาษาเป็นที่มาแห่งชาติตระกูล   ประเทศในเอเชียมีภาษาหลักมากมายหลายภาษา  ภาษามลายูคือภาษาหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การอ่านอัล-กุรอ่านที่ถูกต้องที่สุดรองจากภาษาอาหรับและอาจจะกล่าวได้ว่าภาษามลายูเป็นภาษาศาสนาภาษาหนึ่งของอิสลาม กรณีตัวอย่างของชนชาติมลายูน่าจะเป็นอุทาหรณ์ที่มุสลิมทุกคนควรพิจารณาอย่างและพึงตระหนักว่าแต่ละเผ่าพันธุ์จะรักษาเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของตนให้คงอยู่ตลอดไปได้อย่างไร
ทางออกของชนเผ่ามลายูคือการรณรงค์และฟื้นฟูให้มีการเรียนการสอนภาษามลายูในทุกชั้นเรียนอย่างจริงจัง( บางพื้นที่อาจจะเปิดการสอนศาสนาในชั้นพื้นฐานคือชั้นฟัรดูอีนและการสอนนอกระบบเช่นการศึกษาตามมัสยิด สุเหร่า ชุมชน หรือแม้กระทั่งการสอนในครอบครัว ในบ้านของผู้รู้ ฯลฯ ) พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนช่วยกันพูดช่วยกันสนทนาในครอบครัวและในที่สาธารณะ โรงเรียนที่สอนศาสนาที่ใช้ภาษาอื่นได้ทบทวนอย่างจริงจังว่าการใช้ภาษาอื่นมาสอนหนังสือศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอนอัล-กุรอาน และอัล-หะดีษ การออกเสียงที่ชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษา  ตามสำเนียงที่เป็นภาษาอาหรับดั้งเดิมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด  เพื่อจะทำให้ได้ความหมายที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามความประสงค์และเจตนารมย์ของอิสลาม  อีกทั้งชื่อเสียงเรียงนามของตน ของลูกหลานและพี่น้องช่วยกันแนะนำ และช่วยกันพิจารณาดูว่าจะทำอย่างไรให้สื่อได้เข้าใจทันทีว่านี่คือมุสลิม(นอกจากจะปรากฎในบัตรประชาชนแล้ว)
        เอกลักษณ์อื่นๆที่สามารถแสดงความเป็นหนึ่งแห่งเผ่าพันธุ์ของตน…ย่อมเป็นสิ่งที่น่าจะ  พิจารนา  รีบปรึกษา รีบทำและรีบๆดำเนินการ เพราะยิ่งนานวันความแปลกปลอมจะเข้ามาแทนที่  บ้านเราเมืองเรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้และเปิดโอกาสแก่ชนชาวไทยมากมาย
บทความบทนี้มิได้มีเจตนาที่จะบอกว่าชนเผ่ามลายูยังคงรักษามั่นในเอกลักษณ์และยังคงปกปักรักษามรดกที่บรรพบุรุษให้มาอย่างเข้มแข็ง  แต่การเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวในการทำลายล้างอิสลามโดยการชอนไชทีละเล็กทีละน้อย  เริ่มต้นที่การทำลายภาษาดั้งเดิม คืบคลานที่ละก้าวในการทำให้วัฒนธรรมชุมชนผุกร่อนอ่อนแอ  จากนั้นขบวนการทำลาบล้างจะแทรกบทบาทในการกำหนดวิถีชีวิตทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและในที่สุดความเป็นมาของเผ่าเหล่ากอของตนก็จะหมดไป ในที่สุดความล่มสลายแห่งวิถีชีวิตที่ดีของชุมชนจะเกิด  เมื่อถึงเวลานั้นไม่ต้องเสียเวลาเรียกร้องหาเอกลักษณ์       หาความยิ่งใหญ่     หาความเสียสละที่บรรพชนสร้างวีรกรรมในอดีตให้ยากอีกเลย  เพราะกว่าจะมีเรา กว่าจะมีชุมชน กว่าจะมีมุสลิมในอกในใจของแต่ละคนมันแสนจะลำบากและต้องอาศัยความอดทนที่สูงส่ง ด้วยพลังความศรัทธาที่แกร่งกล้า        และมั่นคงของบรรพชนคนของเรา  และด้วยความเมตตาของอัลเลาะฮ.ที่ได้ฮิดายะฮ.แก่เรา …ปัจจุบันท่านยังกังวลกับสิ่งที่หลอกหลอนหรือยั่วยวนในสังคมบริโภคมากกว่าอีกหรือ….?
ไม่อาจจะบอกว่ามุสลิมทุกคนต้องประชุมปรึกษาว่าเราจะเริ่มต้นตรงไหน  อย่างไร         ที่สำคัญมุสลิมทุกคนต้องค้นหาตัวเองให้พบว่า ณ.วันนี้เรายืนอยู่ที่ตรงไหน วันข้างหน้าเราจะให้ลูกหลานเป็นอย่างไร และในโลกอาคีรัติ.(ชีวิตหลังความตาย) เราจะตอบคำถามกับอัลเลาะฮ.ผู้เป็นเจ้าแห่งชีวิตและวิญญาณของเราที่แท้จริงได้อย่างไร  เพราะแนวคิดเหล่านี้มีอยู่เต็มอกในบรรดามุสลิมที่เข้าใจและศรัทธาทุกคนอยู่แล้ว….? พี่น้องมุสลิมในภูมิภาคอื่นๆของประทศไทยถึงแม้จะมีจำนวนน้อยแต่ดูเหมือนจะมีปัญหาในการดำรงชีวิตไม่มากนัก เพราะไม่ค่อยจะมีผู้ใดคอยมาทำความรำคาญใจมาก
แต่มุสลิมในภาคใต้ซึ่งมีมากที่สุดในประเทศกลับถูกกระบวนการทำลายล้างมานานนม จนปัจจุบันบางคน บางกลุ่มยังคงตราตรึงในความขยาดและความหวาดกลัว ถึงแม้ว่าพวกไดโนเสาเต่าล้านปีซึ่งในอดีตจะเหลือเป็นฟอสซิลติดกรังกับก้อนหินไปนานนับล้านปีแล้ว   แต่ความกังวลและกริ่งเกรงว่าอาจจะมีพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นมาหลอกหลอนและทำสงครามประสาทกับเราอีก …!!!

กระบวนการทำลายล้างวิถีชีวิต วัฒนธรรมและศาสนาความเชื่อของเผ่าชนอื่นๆเกิดขึ้นมาโดยตลอด  ขบวนการนั้นเป็นขบวนการของ ลัทธินัสรอนี( คริสต์เตียน) พวกยาฮูดี (ยิว)และไซออนนิสซึม ที่มันกำลังใช้พลังทางธุรกิจ การเมือง การปกครองและสารพัดอำนาจครอบงำบรรดาประเทศมหาอำนาจและ เข้าไปครอบครองตำแหน่งสำคัญๆขององค์การระหว่างประเทศ  ไม่ว่าจะเป็นสหประชาติหรือองค์กรการกุศลอื่นๆทั้งที่อยู่ใต้ร่มองค์การสหประชาชาติและอื่นๆ เพื่อเข้าไปแทรกซึม ทำลายและบดขยี้ประเทศเล็กประเทศน้อยในสารพัดเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่มีศาสนาเดียวกันกับมัน(แต่ไม่ทำตามที่มันต้องการ) จึงไม่เป็นการแปลกเลยที่บรรดาเหล่าประเทศมหาอำนาจกำลังกระเสือกกระสนที่จะครอบครองประเทศมุสลิม และบีบคั้นทุกวิถีทางให้ประเทศเล็กๆที่มีประชากรมุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยให้ดำเนินการจำกัดและกำจัดสิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ นั่นคือการทำลายล้างอิสลามของหมู่เหล่าประเทศกาเฟรทั้งปวง
      อัลเลาะฮ.ได้สั่งให้มุสลีมีนทุกผู้นามมากว่า 1422 ปีให้ระวังและเลือกคนที่จะเป็นมิตรและพระองค์ได้บัญญัติไว้ในอัล-กุรอานซูเราะฮ.อัลมาอิดะฮ. อายะที่ 51 ความสรุปเป็นภาษาไทยว่า:

” ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าได้ยึดเอาชาวยิวและชาวคริสต์เตียนเป็นมิตร บางส่วนของพวกเขานั้นคือมิตรของอีกบางส่วน และผู้ใดในหมู่พวกเจ้า
เอาพวกเขามาเป็นมิตรแล้วไซร้  แน่นอนผู้นั้นก็เป็นคนหนึ่งในพวกเขา
แท้จริงอัลเลาะฮ.นั้นจะไม่ทรงแนะนำกลุ่มชนที่อธรรมมันแก่ผู้ที่พระองค์
ทรงประสงค์  และอัลเลาะฮ.นั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวาง ผู้ทรงรอบรู้ “

*ยิวและคริสต์เตียนต่างรักใคร่ซึ่งกันและกัน ในขณะเดียวกันทั้งหมดนั้นเป็นศัตรูของมุสลิมีน เมื่อเขาคบกับมุสลิมแล้วพวกเขาจะล่วงรู้ในความเร้นลับของฝ่ายมุสลิม แล้วรายงานให้พวกเขาทราบ  พวกยิวและคริสต์เตียนถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ศรัทธาต่อนบีของกันและกัน แต่พวกเขาก็ให้ความช่วยเหลือกันในการเป็นศัตรูกับมุสลีมีน ดังนั้นในสองพวกนี้จึงไม่เป็นที่ไว้วางใจแก่มุสลีมีนได้…

กรณีตัวอย่างการสงครามในอัฟกานีสถาน ที่สหรัฐอเมริกา อังกฤษเป็นตัวนำ สามารถเห็นชัดเจนว่า อเมริกากับรัสเซียร่วมมือกันทำลายอัฟกานีสถานทั้งๆที่รัสเซียเองเพิ่งจะแพ้สงครามกับอัฟกานีสถาน (ซึ่งในครั้งนั้นอเมริกาอยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนทั้งการเงิน อาวุธยุทโธปกรณ์        แก่รัฐบาลอัฟกานีสถานและกลุ่มต่อต้านรัสเซีย) อีกประเทศหนึ่งที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี คือกรณีของประเทศญี่ปุ่นที่สหรัฐอเมริกาเคยฆ่าชาวญี่ปุ่นนับแสนคนเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดปรมาณู 2 ลูกที่ยิวชื่อนายอัลเบิร์ต ไอสไตน์เป็นคนคิดสร้าง และนำไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ   แต่รัฐบาลญี่ปุ่นกลับเห็นด้วยและสนับสนุนสหรัฐเพื่อทำลายมุสลิมในอัฟกานีสถาน
ถึงเวลาแล้วยัง…?ที่พี่น้องมุสลิมผู้เข้มแข็งกว่า ผู้รู้มากกว่า มีความพร้อมมากกว่า มีโอกาสมากกว่าและเป็นผู้ที่กล้าหาญมากกว่า จะต้องลงมาช่วยกันคิดและหาแนวทางในการช่วยเหลือ ประคับประคองตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมกันมืออย่างจริงจังในการช่วยเหลือมุสลิมที่อ่อนแอกว่า รู้น้อยกว่า ขาดความพร้อมในทุกด้าน และเป็นกลุ่มบุคคลที่ด้อยโอกาสมากกว่า โดยเฉพาะปัจจุบันกำลังถูกกระแสเศรษฐกิจคุกคามและถูกพายุร้ายแห่งลัทธินัสรอนีและยาฮูดีเข้าไปทำลายอย่างหนัก  เรามุสลิมทุกคนคงไม่ปรารถนาที่จะเห็นอนาคตของลูกหลานมุสลิม            เป็นอย่างอื่นแน่นอน(ขอให้อัลเลาะฮ.ได้ห่างไกลความเลวร้ายทั้งปวงเถิด)และคงไม่มีใครที่จะคิดว่าอะไรที่มันจะเกิดและจะเป็นไปในวันข้างหน้าล้วนแล้วแต่เป็น ตักเดร  ตามกฎบัญญัติของอัลเลาะฮ.แต่เพียงอย่างเดียว..!
โดยลืมไปว่าอัลเลาะฮ.จะไม่เปลี่ยนแปลงประชาชาติใดๆ เว้นแต่เขาผู้นั้นจะกระทำด้วยตัวของเขาเอง…และนั่นหมายถึงมุสลิมผู้ศรัทธาเท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลงประชาชาติของตน (ไม่ใช่นัสรอนีหรือยาฮูดืต้องมากำกับและจัดการ…!!!) เพราะการเปลี่ยนแปลงในทัศนะอิสลามคือการเปลี่ยนแปลงไปในหนทางที่ดี ถูกต้องและอยู่บนพื้นฐานของทางนำแห่งอิสลาม  ทั้งนี้เพื่อความโปรดปรานจากอัลเลาะฮ.และพระองค์จะทรงสิทธิ์นี้แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

11 เชาวาล 1422
24 ธันวาคม 2544


ชาติพันธุ์มลายู  ι  ปัตตานีดารุสลาม ι  จากปัตตานีสู่ปากลัด ι ตามรอยถิ่นบรรพชน

ดูบทความเพิ่มเติม :

ชาติพันธุ์มลายู โดย อลี เสือสมิง

ชาตินิยมมลายู โดย นิธิ เอียวศ

เพิ่มเติมข้อมูลและความเห็น